โรคลมพิษ แม้ไม่อันตรายถึงชีวิตแต่ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะโรคลมพิษเรื้อรังที่สร้างความรำคาญจากอาการคันต่อเนื่องในระยะยาว จนรบกวนคุณภาพชีวิตตลอดจนการนอน การรักษาโดยเร็วและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคลมพิษดีขึ้นโดยเร็ว

โรคลมพิษ คืออะไร

ลมพิษ (Urticaria) คือ ผื่นคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นอาการโรคลมพิษที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี ลักษณะลมพิษจะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย กระจายตามตัวแขนขา หรือบริเวณใบหน้า ซึ่งผื่นลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนในร่างกาย โดยมากมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นจะค่อยๆ จางหายไป บางรายอาจมีอาการถึงขั้นปวดท้อง แน่นจมูก หายใจติดขัด หรือบางรายอาจมีอาการรุนแรงมาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ประเภทของโรคลมพิษ

โรคลมพิษนั้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย

1. โรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน  มักมีอาการต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุที่เกิดได้ คือ จากการแพ้อาหาร, แพ้ยา, แมลงสัตว์กัดต่อย การติดเชื้อบางชนิด บางรายอาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น เช่น แน่นหน้าอก, แน่นจมูก, ปวดท้อง, ความดันต่ำ, ปากและตาบวม ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นโรคลมพิษเรื้อรัง

2. ผื่นลมพิษชนิดเรื้อรัง

มักจะแสดงอาการแบบเป็นๆ หายๆ อย่างน้อย 2 วัน/ สัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุจะแตกต่างจากโรคลมพิษเฉียบพลัน โดยคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งไม่สามารถหาสาเหตุได้ เพราะอาจเกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย แต่สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้ลมพิษเรื้อรังเป็นมากขึ้น ได้แก่ ยาแอสไพริน, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, ยาปฏิชีวนะ, ประจำเดือน, พักผ่อนไม่เต็มที่ เป็นต้น

โรคลมพิษพิษเรื้อรัง มีขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงใหญ่มีลักษณะปื้นนูนแดงคันไม่มีขุยขอบเขตชัดเจนผื่นกระจายอย่างรวดเร็วมีทั้งวงกลมรีวงแหวนทั้งแขนขาใบหน้ารอบดวงตาปากผู้ป่วยบางคนอาจปากบวมและตาบวมร่วมด้วยนอกจากนี้ความเครียดมีผลกับการเห่อของโรคได้ 

สาเหตุของการเกิดโรคลมพิษ

สาเหตุของการเกิดโรคลมพิษนั้นมีหลายปัจจัย โดยสาเหตุที่เราสามารถพบได้บ่อยๆ มีดังนี้

  • แพ้อาหาร
  • แพ้ยา
  • การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส, เชื้อแบคทีเรีย,  เชื้อรา, ท้องเสีย, ทอนซิลอักเสบ, ฟันผุ, หูอักเสบ, เป็นหวัด ฯลฯ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • แพ้ฝุ่น ละอองเกสร พืชบางชนิด และขนสัตว์
  • แพ้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • การสัมผัสสารเคมีหรือสารบางอย่าง  เช่น เครื่องสำอาง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง  เป็นต้น
  • ลมพิษเรื้อรัง ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น การแพ้แสงแดด แพ้ความร้อน ความเย็น เหงื่อ (เช่น เหงื่อหลังจากการออกกำลังกาย) การสัมผัสน้ำ อุณหภูมิในร่างกายสูง หรือการขีดข่วนที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง เป็นต้น
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ
  • ภาวะความเครียด วิตกกังวล เป็นสาเหตุหนึ่งของลมพิษเรื้อรัง

โรคลมพิษอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคไทรอยด์ หรือลูปัส (Lupus) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่เรียกกันติดปากว่า “โรคพุ่มพวง”

การรักษาโรคลมพิษ

  • หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษ
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ และเลี่ยงไม่รับประทานหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
  • ใช้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
  • ดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้งตึงจนเกินไป หมั่นทาครีมหรือโลชั่นที่ปราศจากน้ำหอม เพื่อลดความไวของผิวหนัง
  • อาจใช้ คาลาไมน์โลชั่น ทาบริเวณผื่นลมพิษเพื่อช่วยลดอาการคัน
  • ไม่แกะเกาผิวหนัง, ขีดข่วน เพราะอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบได้
  • ผู้ที่เสี่ยงมีอาการแพ้หรือต้องการทราบความเสี่ยงในการแพ้สารใดๆ อาจป้องกันได้โดยเข้ารับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

การรักษาโรคลมพิษเป็นไปตามสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นเป็นสำคัญเพื่อลดผื่นที่เกิดขึ้น โดยเป็นการรักษาด้วยยา ได้แก่

  • ยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ ช่วยรักษาและควบคุมอาการของโรค มีให้เลือกมากมายหลายชนิดและมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน รวมถึงผู้ป่วยต้องมีการปรับยาเป็นระยะ จึงจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ได้รับยาที่เหมาะสมในระยะยาว และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ยาในกลุ่มอื่นๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยลมพิษเรื้อรังมีอาการหนัก ได้รับยาฮีสตามีนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการพิจารณาให้ยากลุ่มอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งสารที่กระตุ้นให้เกิดลมพิษ เพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด

โรคลมพิษ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

  • ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่อาการโรคลมพิษไม่หายไปภายใน 24 ชั่วโมง
  • ติดต่อแพทย์ทันทีที่อาการเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น
  • มีอาการปวดตามข้อ อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ และมีอาการเจ็บบริเวณผื่นร่วมด้วย
  • ลมพิษเฉียบพลันหากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง มีอาการหน้าบวม ตาบวม ปากบวม ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการหอบหืด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
  • เมื่อรู้สึกวิตกกังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

การพยากรณ์โรค

  • ในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลันที่หาสาเหตุและแก้ไขได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้ 1-2 สัปดาห์ มีผู้ป่วยบางรายที่หาสาเหตุได้ไม่ชัดเจน ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยที่มีโรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ในผู้ป่วยที่ได้สืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้เช่นเดียวกับกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าหาสาเหตุไม่พบหรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย โรคมักเรื้อรังแพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ ชนิดขึ้นไป เพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษให้ได้ เมื่อควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลงเพื่อควบคุมโรคในระยะยาว และพยายามหยุดยาถ้าทำได้ ผู้ป่วยบางราย โรคอาจเรื้อรังเป็นปี อย่างไรก็ตามผื่นลมพิษชนิดเรื้อรังส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยและญาติไม่ควรวิตกกังวล

รักษาโรคลมพิษด้วยสมุนไพร

การทาขี้ผึ้งหรือโลชั่นเป็นเพียงการช่วยบรรเทาอาการคันได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ทางที่ดีเมื่อมีอาการลมพิษไม่ควรเกา เพราะการเกาจะไปกระตุ้นให้ผื่นลมพิษยิ่งขยายมากขึ้น และที่สำคัญควรจดรายการอาหารหรือยาที่กินก่อนเป็นลมพิษ ถ้าหากเป็นซ้ำอีกบันทึกนี้จะช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ แล้วงดสิ่งนั้น หากลองวิธีข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ลองใช้สมุนไพรใกล้ดู ซึ่งสมุนไพรสำหรับรักษาลมพิษมีดังนี้

สมุนไพรชนิดทา

1. สีเสียด นำสีเสียดมาผสมกับปูนแดง (ที่ใช้กินกับหมาก) ใส่น้ำพอหมาด ใช้ทาบริเวณที่เป็นลมพิษ

2. ใบพลู นำใบพลูมาตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าขาว ใช้ทาบริเวณที่เป็นลมพิษ

3. หัวข่าแก่ นำหัวข่าแก่มาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าขาว นำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ

4. ใบเสลดพังพอน นำใบหรือต้นของเสลดพังพอนตำกับแป้งดินสอพอง ผสมเหล้า ใช้ทาบริเวณที่เป็นลมพิษ

หมายเหตุ ใช้สมุนไพรเหล่านี้ในปริมาณที่พอเหมาะกับบริเวณที่เป็น และใช้ปูนแดงหรือเหล้าขาวซึ่งเป็นตัวทำปฏิกิริยาในปริมาณเล็กน้อย

สมุนไพรชนิดกิน

1. นำใบขิงสด ใบพริกไทยสด และใบคนทีสอ อย่างละเจ็ดใบมาโขลกรวมกันแล้วคั้นเอาน้ำที่ได้มาดื่มแก้ลมพิษ

2. นำต้นขลู่นา (ทั้งราก ต้น ใบ และดอก) ต้มกับน้ำสะอาดดื่มบ่อยๆ นอกจากจะช่วยขับปัสสาวะได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการลมพิษได้อีกทางหนึ่ง

  • ป้องกันด้วยอาหาร

เมื่อภูมิชีวิตตกจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง การฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกายจะเป็นไปอย่างไม่เต็มที่ เพราะแมสต์เซลล์ (mast cell) ถูกทำลาย จึงเกิดอาการแพ้ได้ง่ายกว่าคนปกติ

ในสมัยก่อนคนโบราณจะนำดอกแค ยอดแค หยวกกล้วย และหัวปลีมาปรุงอาหาร เพราะมีสารอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย หรือแม้แต่ผักผลไม้ต่างๆก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ที่เห็นผลได้อย่างชัดเจนก็คือกล้วยน้ำว้าและมะละกอสุก

  • วิธีปฏิบัติตัวหนีลมพิษ

วิธีง่าย ๆ และใกล้ตัวอีกวิธีหนึ่งคือเวลาที่มีอาการลมพิษกำเริบสามารถบรรเทาอาการได้โดยการอาบน้ำเย็น และใช้ครีมวิตามินอี นอกจากนั้นควรกินวิตามินซีเสริมประมาณวันละ 1-2 กรัม และเพื่อเป็นการป้องกันในระยะยาว ควรเลี่ยงอาหารบางอย่าง หรือสิ่งที่แพ้อื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดลมพิษดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นค่ะ

  • อาการโรคลมพิษที่ควรรีบไปพบแพทย์

คันรุนแรงหรือบวมมากบริเวณใบหน้า ตา ปาก และลิ้น มีอาการเสียงแหบ หรือแน่นหน้าอก หอบ หรือหายใจไม่ออกเฉียบพลัน มีอาการเป็นลม ช็อก ความดันโลหิตต่ำร่วมด้วย แต่ละแห่งที่ลมพิษขึ้นผื่นยุบช้าคือเกิดขึ้นนานกว่า 24 ชั่วโมง และหลังจากที่ผื่นบริเวณนั้นหายแล้วจะมีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาลคล้ำเกิดขึ้น มีอาการไข้ ปวดข้อ และแพ้แดดร่วมด้วย

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ gimptr.com

สนับสนุนโดย  ufabet369